ดอกมีขนาดใหญ่ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับรั้ว ดอกบานในตอนเช้า และจะหุบในตอนบ่าย
วิธีการเพาะเมล็ด
- เตรียมน้ำสำหรับผสมวัสดุเพาะโดยผสม โพรพาโมร์คาร์บ อัตรา 0.4 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือเมทาแลกซิล เพื่อป้องกันโรคเน่าคอดิน
- ผสมน้ำที่เตรียมไว้กับพีทมอส โดยค่อยๆเติมน้ำทีละน้อย คลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นลองบีบวัสดุเพาะเพื่อทดสอบว่า น้ำเข้ากับวัสดุเพาะได้ดีหรือไม่ หากบีบน้ำแล้วมีน้ำออกมาเล็กน้อยตามร่องมือ และวัสดุเพาะเกาะกันเป็นก้อนดีถือว่าใช้ได้ หากมีน้ำไหลออกมามากเกินไป ให้ผสมวัสดุเพาะเพิ่ม หรือไม่มีน้ำซึมออกมาแสดงว่าน้ำน้อยเกินไป ให้เพิ่มน้ำและบีบทดสอบอีกครั้ง
- นำวัสดุเพาะที่เตรียมไว้ใส่ถาดเพาะให้เต็มหลุม กระแทก ถาดเพาะ 1 ครั้งเพื่อให้วัสดุเพาะลงถึงก้นหลุม เติมวัสดุเพาะให้เต็ม แล้วปาดหน้าดินถาดเพาะให้เรียบ พอดีกับหลุม
- นำถาดเพาะเปล่ามาวางบนถาดเพาะที่ใส่วัสดุเพาะแล้ว จากนั้นกดถาดเปล่าเพื่อทำหลุม โดยหลุมที่กดควรมีขนาดลึกพอดีกับเมล็ดดาวเรืองฝรั่งเศส ประมาณ 0.5 ซม.
- หยอดเมล็ดพันธุ์ ผักบุ้งฝรั่ง 1 เมล็ดต่อ 1 หลุม นำวัสดุเพาะที่ยังไม่ได้ผสมน้ำมาใส่ตะกร้าเพื่อร่อนกลบเมล็ดโดยกลบให้มิดเมล็ด เนื่องจากเมล็ด ผักบุ้งฝรั่ง ไม่ต้องการแสงในการงอก และเป็นการรักษาสภาพความชื้นในการงอกของเมล็ด
- พ่นสารเคมี โพรพาโมคาร์บ อัตรา 1 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือเมทาแลกซิล 1 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร พ่นให้ทั่วถาด เพื่อป้องโรคเน่าคอดินอีกครั้ง นำถาดเข้าไปในบริเวณที่พรางแสง 80%-90% และรักษาความชื้นโดยการพ่นน้ำ อย่าให้ถาดเพาะแห้งจนเกินไปเพราะจะทำให้เมล็ดไม่งอกหรือแฉะจนเกินไป อาจทำให้เป็นโรคเน่าคอดินในระยะงอกของเมล็ด
- การรดน้ำควรรดในช่วงเช้า หรือสังเกตุเห็นว่าดินแห้ง หากให้น้ำมากเกินไป จะก่อให้เกิดความชื้น ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเชื้อราที่จะตามมา การรดน้ำควรใช้หัวสเปรย์ขนาดเล็ก เพื่อป้องกันในช่วงเพาะกล้าเมล็ดกระจายออก นอกถาด
การเตรียมดินปลูก
ดินปลูกสำหรับบรรจุลงถุงหรือกระถาง
การเตรียมดินปลูกต้องพิถีพิถันพอสมควร เพราะไม้ดอกส่วนใหญ่มีอายุการออกดอกสั้น โดยเฉพาะไม้ดอกที่ไวต่อแสงจะออกดอกทันทีเมื่อครบอายุและต้นสมบูรณ์ ดินปลูกต้องเป็นดินโปร่ง ร่วนซุย มีอินทรียวัตถุสูง ระบายน้ำดี ในขณะเดียวกันอุ้มความชื้นได้ดีพอสมควร
สูตรที่ 1 ส่วนประกอบดินผสมโดยทั่วไป ได้แก่ ดินร่วน ปุ๋ยหมัก แกลบดิบ แกลบเผา ขุยมะพร้าว
อัตราส่วน 1 : 1 : 2 : 2 : 2
สูตรที่ 2 ส่วนประกอบดินผสมโดยทั่วไป ได้แก่ แกลบดิบ ขุยมะพร้าว ดิน อัตราส่วน 3 : 5 : 2
สูตรที่ 3 ขุยมะพร้าว ทรายหยาบ + โดโลไมท์ อัตราส่วน 3 : 1 +โดโลไมท์
อัตราส่วนผสมรวมกัน 240 ลิตร( ขุยมะพร้าว 180 ลิตร + ทรายหยาบ 60 ลิตร ใช้โดโลไมท์ 0.5 กก.)
หรือ ทั้งนี้สามารถดัดแปลงสูตรได้ตามความเหมาะสม ตามประสบการณ์ หรือคู่มืออื่นๆ
การย้ายปลูกต้นกล้าลงกระถางหรือถุงดำ
หลังจาก การเพาะเมล็ดไปแล้วประมาณ 7-10 วัน ให้สังเกต ต้นกล้าเมื่อมีใบจริง 2 คู่ขึ้นไป ต้นกล้าโตพอที่จะย้ายได้ นำต้นกล้าลงในถุงพลาสติกหรือกระถาง โดยการเจาะหลุมดินให้ลึกและกว้างพอกับดินที่หุ้มรากมา แล้วนำต้นกล้าหยอดลงในหลุมแล้วกลบด้วยดิน หากต้นกล้ายืดหรือยาวกว่าปกติให้เจาะหลุมลึกขึ้นอีก หยอดต้นกล้าลงหลุมและกลบให้ชิดถึงใบจริงคู่แรก ช่วยแก้ปัญหาต้นกล้ายืดผิดปกติได้
หลักการปฏิบัติในการย้ายปลูก
- ย้ายต้นกล้าในตอนที่แดดอ่อนและในร่ม
- เตรียมแปลงปลูกอย่างดี รดน้ำแปลงให้ดินชื้นก่อนการย้ายปลูก
- ก่อนย้ายต้นกล้า ให้รดน้ำต้นกล้าให้ชุ่มก่อนทำการย้ายปลูก ดึงต้นกล้าเบาๆหรือใช้ใช้แหนบคีบ พร้อมดินหุ้มรากไปให้มากๆ เพื่อรากจะได้รับความกระทบกระเทือนน้อยที่สุด
- ปลูกในหลุมที่กว้างพอกับดินที่หุ้มรากมา และควรปลูกให้ใบจริงอยู่ใกล้กับระดับดินมากที่สุด เพื่อที่เวลารดน้ำต้นกล้า จะไม่หักล้มง่าย และแก้ปัญหาต้นกล้ายืด
- รดน้ำให้ชุ่มโดยใช้บัวรดแบบฝอยละเอียด
ขั้นตอนการเตรียมเลื้อยให้ดอกผักบุ้งฝรั่งยึดเกาะ
จิงๆขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่ของแต่ละคนบางคนอาจจะใช้ ประตูหน้าบ้านที่เป็นเหล็กมัดๆ หรือเหล็กดัดต่างๆ แต่ทางทีมงานของเราเพื่่อความจะปลูกโชวเต็มๆเราใช้ตาข่าย
ให้นำต้นผักบุ้งฝรั่งที่ย้ายลงดินแล้วคืออยู่ในกระถางแล้ว มาไว้ใต้สิ่งที่เราจะให้เจ้าดอกผักบุ้งฝรั่งมันเลื้อย โดยอย่าให้ห่างมาก และมีแสงแดดส่องถึง คอยรดน้่ำทุกวันเราจะสังเกตุได้ว่า
เค้าจะมีแขนออกมาเพื่อยึดเกาะเมื่อความยาวได้ที่พาดถึงที่เราจะให้เค้าเลื้อยแล้วให้เราช่วยเค้าโดยการใช้มือนำแขนของเค้าไปพาดตรงตำแหน่งที่ต้องการจากนั้นก็รถน้ำทุกวันและรอ ลำต้นโตออกดอกได้เลย
*** ดอกผักบุ้งฝรั่งจะบานในยามเช้า แดดอ่อนๆ ไปจนสายๆ ในวันที่แดดแรงมากๆดอกจะหุบ
การดูแลรักษา : เลี้ยงง่าย แทบไม่ต้องดูแลอะไรเลย รดน้ำวันละครั้งก็พอแล้ว แต่อาจจะมีตัดแต่งบ้างเวลาที่รู้สึกว่าเริ่มรก
ข้อควรระวัง : เห็นว่าดอกสีสวย ทำซุ้มสวยแบบนี้ แต่ต้องระวังให้ดีเพราทุกส่วนของเจ้าฝรั่งบุ้งฝรั่งเป็นพิษ ทั้ง เถา ใบ ดอกโดยเฉพาะที่เมล็ด มีพิษทั้งนั้น เพราะฉะนั้นถ้าที่บ้านมีเด็กหรือสัตว์เลี้ยง เจ้าต้นนี้ก็อาจจะไม่เหมาะก็ได้ เพราะถ้าไม่ระวัง เด็กๆ หรือ สัตว์เลี้ยงอาจจะแอบไปเด็ดหรือกัดเล่นตามลำพังได้
การให้ปุ๋ย สูตรน้ำ
- ระยะที่ 1 เสริมสร้างการเจริญเติบโตของราก ลำต้นและใบ หลังจากย้ายกล้าแล้วประมาณ 7 วัน ให้ปุ๋ยไนโตรเจนสูง เช่น สูตร 15 – 0 – 0 หรือ 25 – 7 – 7 ในอัตรา 1 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำ 20 ลิตร รดทุกๆ 5 – 7 วัน ประมาณ 2 – 3 ครั้ง
- ระยะที่ 2 ช่วงการเจริญเติบโตถึงระยะสังเกตเห็นตุ่มดอก ให้ปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 อัตรา 75 กรัม หรือ 5 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำ 20 ลิตร รดทุกๆ 3 วัน จนกระทั่งดอกเริ่มบาน
- ระยะที่ 3 เมื่อดอกเริ่มบาน ให้ปุ๋ยสูตร ให้ปุ๋ยสูตร 8 – 24 – 24 หรือ 13 – 13 – 21 อัตรา 75 กรัม หรือ 5 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำ 20 ลิตร รดทุกๆ 3 วัน ต่อเนื่องตลอดอายุการให้ดอก
ปุ๋ยเม็ด
สามารถให้ปุ๋ยสูตรต่างๆ เหมือนสูตรน้ำ ระยะที่ 1 – 3 อัตรา 10 กรัม/ต้น ทุกๆ 7 วัน โดยฝังลงในดินหรือใช้ดินกลบ
ข้อควรระวัง :
-
การให้ปุ๋ยเม็ด ระวังอย่าให้โดนโคนต้นเพราะอาจทำให้เน่าและไหม้ได้ ควรฝังลงดินหรือใช้ดินกลบ
-
การให้ปุ๋ยน้ำ อาจสัมผัสโดนใบและทำให้ใบไหม้ได้ ดังนั้นเมื่อรดปุ๋ยแล้วให้รดน้ำเพื่อล้างใบตาม
หมายเหตุ : หากไม่สามารถหาปุ๋ยได้ตามสูตร สามารถใช้ปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 หรือสูตรเสมอทดแทนได้ทุกระยะ แต่การเจริญเติมโตอาจไม่ดีเท่าสูตรที่แนะนำ หรือสำหรับบางท่านที่ไม่สะดวกในการให้ปุ๋ยบ่อยครั้ง สามารถใช้ปุ๋ยละลายช้า สูตร 14 – 14 – 14 แนะนำเป็นตัว เนเจอร์ โค้ท สามารถปลดปล่อยธาตุอาหารพืช ได้ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ นานถึง 3 เดือน แต่จะไม่ดีเท่าการให้ปุ๋ยตามระยะ
Short URL :