ลักษณะช่อดอกสีแดงสด ก้านช่อดอกยาวประมาณ 15-20 ซม. ออกดอกได้ดีในฤดูหนาว ชอบแสงแดดแบบร่มรำไร ทรงพุ่มสูง ประมาณ 30 ซม. ออกดอกได้นานหลายสัปดาห์ และควรมีการเด็ดยอด เพื่อให้ทรงพุ่มแน่น
การเพาะเมล็ดมี 2 วิธี
- การเพาะเมล็ดในตะกร้า
- เตรียมวัสดุเพาะ 2 ส่วน ทรายละเอียด 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน
- เตรียมตะกร้า และนำกระดาษหนังสือวางในตะกร้า เพื่อกันวัสดุเพาะไหลออก
- นำวัสดุเพาะที่เตรียมไว้บรรจุในตะกร้า ความหนาประมาณ ¾ ของความสูงตะกร้า
- นำไม้ทำร่อง ความลึกประมาณ 1 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างร่อง ประมาณ 3 เซนติเมตร
- หยอดเมล็ดลงในร่อง อย่าให้หนาแน่นเกินไป แล้วกลบเมล็ดหนาประมาณ 0.4 เซนติเมตร แล้วยกตะกร้าเข้าโรงเรือนด้วยวัสดุเพาะละเอียดโดยร่อนผ่านตะกร้าบางๆ
- ดูแลรดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง เพื่อให้วัสดุเพาะมีความชื้นเพียงพอ ไม่ควรให้น้ำจนวัสดุเพาะแฉะ
- เมื่อกล้าอายุประมาณ 7 วัน ย้ายต้นกล้าลงในถาดเพาะ
- การเพาะเมล็ดในถาดเพาะ
- นำวัสดุเพาะที่เตรียมไว้ บรรจุลงในถาดเพาะให้เต็มทั่วทุกหลุม หลังจากนั้นกระแทกถาดเพาะเบาๆพอประมาณ 1 ครั้งเพื่อให้ดินแน่นขึ้น ไม่แนะนำให้ใช้มือกดเพราะดินจะแน่นจนเกินไป
- จากนั้นให้หยอดเมล็ดลงถาดเพาะ 1 เมล็ด ต่อ 1 หลุม แล้วนำวัสดุเพาะกลบเมล็ดบางๆ
- การกลบเมล็ด หลังจากหยอดหรือหว่านเมล็ดแล้ว สำหรับเมล็ดที่มีขนาดเล็กมาก ส่วนใหญ่จะเพาะในตะกร้า ไม่ควรกลบเมล็ดหรือกลบบางๆ การกลบเมล็ดหนาสำหรับเมล็ดเล็กนั้น จะส่งผลต่ออัตราการงอกที่ลดลง สำหรับเมล็ดที่มีขนาดใหญ่สามารถกลบเมล็ดได้หนาขึ้น วัสดุที่ใช้กลบเมล็ดแนะนำให้ใช้วัสดุเพาะหรือขุยมะพร้าวละเอียด ร่อนผ่านตระแกรงลงบนถาดเพาะได้โดยตรง สังเกตว่าบริเวณใดบาง ให้ร่อนเพื่อกลบซ้ำบริเวณนั้น
- นำถาดไปวางในที่พรางแสง และรดน้ำให้ชุ่ม
การย้ายปลูก
- การย้ายปลูกต้นกล้าลงกระถางหรือถุงดำ
- อายุประมาณ 25-30 วัน หลังหว่านเมล็ด ให้สังเกต ต้นกล้ามีใบจริง 2 คู่ขึ้นไป ย้ายลงปลูก
- ย้ายปลูกต้นกล้าลงถุงพลาสติก โดยการเจาะหลุมดินให้ลึกและกว้างพอกับดินที่หุ้มรากมา แล้วนำต้นกล้าหยอดลงในหลุมแล้วกลบด้วยดิน
- หากต้นกล้ายืดหรือยาวกว่าปกติให้เจาะหลุมลึกขึ้นอีก หยอดต้นกล้าลงหลุมและกลบให้ชิดถึงใบจริงคู่แรก ช่วยแก้ปัญหาต้นกล้ายืดผิดปกติได้
- ในกรณีที่ต้องการปลูกในถุงดำหรือกระถางไม่ย้ายลงแปลง ให้ดูแลต้นกล้าจนกระทั่งต้นโต
การย้ายปลูกต้นกล้าลงแปลง
- อายุกล้าหลังย้ายลงถาดเพาะประมาณ 15-20 วัน หรือมีใบจริง 2 คู่ใบขึ้นไป ย้ายลงแปลงปลูก
- ก่อนย้ายกล้า งดให้น้ำต้นกล้า เพื่อให้ดินเกาะรากต้นกล้า ตุ้มไม่แตกเมื่อนำมาลงแปลง
- ดึงต้นกล้าเบาๆ พร้อมดินหุ้มรากไปมากๆ เพื่อรากจะได้รับความกระทบกระเทือนน้อยที่สุด
- ให้น้ำในแปลงปลูกอย่างเพียงพอ ไม่แห้งหรือแฉะจนเกินไป เพราะถ้าขาดน้ำ ต้นกล้าอาจเหี่ยว และตายได้ เพราะรากต้นกล้าไม่มีน้ำมาหล่อเลี้ยง
- การวางสายน้ำ สายน้ำหยดต้องอยู่ตรงกับรอยเจาะของรูพลาสติก เพื่อที่น้ำจะหยดลงในจุดที่ปลูกต้นกล้าด้วย ซึ่งจะทำให้ต้นกล้าได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
หลักการปฏิบัติในการย้ายปลูก
- ย้ายต้นกล้าในตอนที่แดดอ่อนและในร่ม
- เตรียมแปลงปลูกอย่างดี รดน้ำแปลงให้ดินชื้นก่อนการย้ายปลูก
- ดึงต้นกล้าเบาๆ พร้อมดินหุ้มรากไปให้มากๆ เพื่อรากจะได้รับความกระทบกระเทือนน้อยที่สุด
- ปลูกในหลุมที่กว้างพอกับดินที่หุ้มรากมา และควรปลูกให้ใบจริงอยู่ใกล้กับระดับดินมากที่สุด เพื่อที่เวลารดน้ำต้นกล้า จะไม่หักล้มง่าย และแก้ปัญหาต้นกล้ายืด
การเตรียมดินปลูกสำหรับบรรจุลงกระถาง
การเตรียมดินปลูกต้องพิถีพิถันพอสมควร เพราะไม้ดอกส่วนใหญ่มีอายุการออกดอกสั้น โดยเฉพาะไม้ดอกที่ไวต่อแสงจะออกดอกทันทีเมื่อครบอายุและต้นสมบูรณ์ ดินปลูกต้องเป็นดินโปร่ง ร่วนซุย มีอินทรียวัตถุสูง ระบายน้ำดี ในขณะเดียวกันอุ้มความชื้นได้ดีพอสมควร มีความเป็นกรดเล็กน้อย มี pH ประมาณ 6.5 – 7 ส่วนผสมของดินปลูกควรหาง่ายในท้องถิ่น สำหรับดินผสม 1 ลูกบาศก์เมตร ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15 – 15 – 15 จำนวน 0.5 กิโลกรัม และสูตร 0 – 46 – 0 จำนวน 1 กิโลกรัม ผสมกันตามสัดส่วน
- สูตรที่ 1 ส่วนประกอบดินผสมโดยทั่วไป ได้แก่ ดินร่วน ปุ๋ยหมัก แกลบดิบ แกลบเผา ขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1 : 1 : 2 : 2 : 2
- สูตรที่ 2 ส่วนประกอบดินผสมโดยทั่วไป ได้แก่ แกลบดิบ ขุยมะพร้าว ดิน อัตราส่วน 3 : 5 : 2
- สูตรที่ 3 ขุยมะพร้าว ทรายหยาบ + โดโลไมท์ อัตราส่วน 3 : 1 +โดโลไมท์ อัตราส่วนผสมรวมกัน 240 ลิตร ( ขุยมะพร้าว 180 ลิตร + ทรายหยาบ 60 ลิตร ใช้โดโลไมท์ 0.5 กก.) หรือ ทั้งนี้สามารถดัดแปลงสูตรได้ตามความเหมาะสม ตามประสบการณ์ หรือคู่มืออื่นๆ
การเตรียมดินปลูกสำหรับปลูกลงแปลง
- ไถพรวนและพลิกหน้าดินตากไว้ประมาณ 7 – 10 วัน เพื่อกำจัดวัชพืช
- หลังจากนั้นให้ทำการไถคราดเพื่อกำจัดวัชพืชออกให้หมดและทำให้ดินร่วนซุย ให้รากพืชเดินได้สะดวกเหมาะสำหรับการปลูก
- ถ้าดินมีปัญหาโดยมีค่าความเป็นกรด ด่าง น้อยกว่า 6. 5 ควรเติมปูนขาวเพื่อปรับสภาพ pH ของดิน อัตรา 100 – 300 กก./ไร่ ในขณะใส่ปูนขาวดินควรมีความชื้นเพื่อให้ปูนทำปฏิกิริยากับดินได้ดียิ่งขึ้น และปล่อยทิ้งไว้ 1 สัปดาห์
- ผสมปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 รองพื้น ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และเพิ่มแร่ธาตุในดิน
- จากนั้นตีพรวนดินให้ละเอียด และขึ้นแปลงปลูก ขนาด 1.20 เมตร สำหรับแปลงคู่ และ 70-80 ซม. สำหรับแปลงเดี่ยว คามความยาวของขนาดพื้นที่
- คลุมด้วยพลาสติกสองหน้าสีดำ-เงิน โดยสีเงินอยู่ด้านบน
การดูแลรักษา
การให้น้ำ ควรรดน้ำทุกวันในตอนเช้าหรือเย็น หากรดน้ำในเวลาเย็นควรให้น้ำ ที่ค้างอยู่บนใบแห้งก่อนพระอาทิตย์ตกดิน และเมื่อมีดอกบาน อย่ารดน้ำให้ถูกดอกเพราะอาจทำให้ดอกช้ำหรือเน่าได้ การให้น้ำควรให้สภาพดินชุ่มสลับแห้ง ไม่ควรให้ชุ่มตลอดเวลา เพราะอาจเป็นสาเหตุของโรครากเน่า โคนเน่า และทำให้ระบบรากไม่พัฒนา ส่งผลให้ต้นแคระแกร็น ไม่สมบูรณ์ สามารถสังเกตสีของดินหรือวัสดุเพาะ หากมีสีดำหรือน้ำตาลเข้ม แสดงว่าดินยังชุ่มหรือมีน้ำอยู่ เมื่อดินเปลี่ยนสีเป็นน้ำตาลอ่อน แห้งแข็ง แสดงว่าดินขาดน้ำ
การให้ปุ๋ยสูตรน้ำ
- ระยะที่ 1 เสริมสร้างการเจริญเติบโตของราก ลำต้นและใบ หลังจากย้ายกล้าแล้วประมาณ 7 วัน ให้ปุ๋ยไนโตรเจนสูง เช่น สูตร 15 – 0 – 0 หรือ 25 – 7 – 7 ในอัตรา 1 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำ 20 ลิตร รดทุกๆ 5 – 7 วัน ประมาณ 2 – 3 ครั้ง
- ระยะที่ 2 ช่วงการเจริญเติบโตถึงระยะสังเกตเห็นตุ่มดอก ให้ปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 อัตรา 75 กรัม หรือ 5 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำ 20 ลิตร รดทุกๆ 3 วัน จนกระทั่งดอกเริ่มบาน
- ระยะที่ 3 เมื่อดอกเริ่มบาน ให้ปุ๋ยสูตร ให้ปุ๋ยสูตร 8 – 24 – 24 หรือ 13 – 13 – 21 อัตรา 75 กรัม หรือ 5 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำ 20 ลิตร รดทุกๆ 3 วัน ต่อเนื่องตลอดอายุการให้ดอก
ปุ๋ยเม็ด: สามารถให้ปุ๋ยสูตรต่างๆ เหมือนสูตรน้ำ ระยะที่ 1 – 3 อัตรา 10 กรัม/ต้น ทุกๆ 7 วัน โดยฝังลงในดินหรือใช้ดินกลบ
ข้อควรระวัง :
-
การให้ปุ๋ยเม็ด ระวังอย่าให้โดนโคนต้นเพราะอาจทำให้เน่าและไหม้ได้ ควรฝังลงดินหรือใช้ดินกลบ
-
การให้ปุ๋ยน้ำ อาจสัมผัสโดนใบและทำให้ใบไหม้ได้ ดังนั้นเมื่อรดปุ๋ยแล้วให้รดน้ำเพื่อล้างใบตาม
หมายเหตุ : หากไม่สามารถหาปุ๋ยได้ตามสูตร สามารถใช้ปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 หรือสูตรเสมอทดแทนได้ทุกระยะ แต่การเจริญเติมโตอาจไม่ดีเท่าสูตรที่แนะนำ หรือสำหรับบางท่านที่ไม่สะดวกในการให้ปุ๋ยบ่อยครั้ง สามารถใช้ปุ๋ยละลายช้า สูตร 14 – 14 – 14 แนะนำเป็นตัว เนเจอร์ โค้ท สามารถปลดปล่อยธาตุอาหารพืช ได้ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ นานถึง 3 เดือน แต่จะไม่ดีเท่าการให้ปุ๋ยตามระยะ
โรคและแมลงศัตรูพืช
-
โรคใบจุด
ลักษณะอาการ: ใบเริ่มมีอาการจุดสีขาวแล้วเนื้อเยื่อตรงกลางแผลจะแห้งและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเนื้อใบที่มีแผลจะค่อยๆแห้ง และร่วงหล่นทำให้ลำต้นทรุดโทรม
การป้องกัน: ระมัดระวังการให้น้ำเนื่องจากเชื้อสามารถแพร่กระจายในละอองน้ำได้
สารเคมีที่ใช้: คลอโรธาโลนิล แมนโคเซบ ไอโพรไดโอน ไดฟีโคลนาโซน
***“โรคนี้ระบาดในฤดูฝนในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงๆ “
-
โรคดอกเน่า
ลักษณะอาการ: ระบาดหนักในช่วงฤดูฝน หากเกิดในช่วงดอกกำลังบานจะทำให้ดอกเกิดอาการไหม้ และดอกไม่สามารถบานได้ หากเชื้อเข้าทำลายในระยะดอกบานจะทำให้กลีบดอกมีสีน้ำตาล
การป้องกัน: มัดระบาดในช่วงที่มีอากาศร้อนชื้น เช่น มีฝนตกสลับกับแดดออก
สารเคมีที่ใช้: คลอโรธาโลนิล มาเนบ ซีเนคาร์เบนดาซิม
***โรคนี้ระบาดในฤดูฝนในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงๆ
-
โรคเหี่ยวเหลือง
ลักษณะอาการ: เริ่มจากใบที่อยู่บริเวณโคนต้น แสดงอาการใบเหลืองและจะแห้งตายใบทั้งต้น ส่วนของลำต้นจะแบนและเหี่ยว และลำต้นลีบ บริเวณคอดิน หรือเหนือดิน มักมีสีแดงคล้ำกว่าส่วนอื่น
การป้องกัน: หากพบโรคระบาดให้ขุดต้นถอนทิ้งและพยายามอย่าให้น้ำผ่านบริเวณที่เกิดโรค
สารเคมีที่ใช้: เบโนมิล ไธโอฟาเนททิล อีทรีไดอาโซล
***การปลูกแบบยกร่องแปลงจะช่วยควบคุมการระบาดของโรคได้ “
-
โรคเหี่ยวเขียว
ลักษณะอาการ: เริ่มจากใบที่อยู่ด้านบนเริ่มแสดงอาการเหี่ยวสลดคล้ายอาการขาดน้ำโดยต้นจะแสดงอาการเหี่ยวในช่วงกลางวันที่มีแสงแดด ส่วนตอนเช้าและตอนเย็นต้นจะมีอาการปกติและหลังจากนั้น 4-5 วันต้นจะตายโดยที่ใบยังมีสีเขียวอยู่
การป้องกัน: หากพบโรคระบาดให้ขุดต้นถอนทิ้งและพยายามอย่าให้น้ำผ่านบริเวณที่เกิดโรค
สารเคมีที่ใช้: สเตปโตมัยซิน 120 กรัม ผสมเมทาแลกซิล 25 % 200กรัม/น้ำ 200 ลิตร รดโคนต้น
***การปลูกแบบยกร่องแปลงจะช่วยควบคุมการระบาดของโรคได้ “
-
โรคกล้าเน่า
ลักษณะอาการ: ต้นกล้าจะแสดงอาการใบซีดเหี่ยว และหักฟุบลงไปกับพื้น สาเหตุเกิดจากเชื้อรา โรคจะเกิดขุ้นเมื่อวัสดุเพาะเมล็ดระบายน้ำไม่ดี มีความชื้นสูงเกินไป และมีต้นกล้าขึ้นหนาแน่น มาก
การป้องกัน: รดน้ำเฉพาะช่วงเช้า ดูแลพื้นที่เพาะกล้าไม่ให้มีน้ำขัง อากาศถ่ายเทได้สะดวก
สารเคมีที่ใช้: ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แคปเทน แมนโคเซบ เซอร์โกมิล
***พบการเกิดโรคได้ ช่วงต้นกล้ามีใบเลี้ยง ไปจนถึง มีใบจริง 3-4 คู่ “
-
โรคหนอนชอนใบ
ลักษณะอาการ: ทำลายใบอ่อน พบการระบาดรุนแรงมากตัวหนอนที่ฟักจากไข่ไชชอนไปทางยาวหรือสร้างอุโมงค์กัดกิน และขับถ่ายอยู่ภายใน รอยทำลายของหนอนชอนใบชนิดนี้มีความยาว โดยเฉลี่ย 17.5 เซนติเมตร ใบถูกทำลายแสดงลักษณะแคระแกนบิดเบี้ยว
การป้องกัน: การเพิ่มสารเคมี ป้องกันกำจัดควรพ่นในช่วงระหว่าง 6.00-9.00
สารเคมีที่ใช้: คาร์แทป ไบเฟนทริน พิโพรนิล
***ระบาดในช่วงย้ายกล้าใหม่ๆ ก่อนเด็ดยอด “
-
หนอนกัดดอก
ลักษณะอาการ: หนอนจะกัดดอกจนกลีบดอกร่วงเสียหายโดยเข้าทำลายขณะดอกเริ่มบาน
การป้องกัน: สังเกตุแปลงที่มีผีเสื้อบินมากๆ เนื่องจากการวางไข่เป็นตัวหนอน
สารเคมีที่ใช้: เมโทมิล อะบาแมกติน ( โซนิคติน ) ไซเพอร์เมทริน
***ระบาดมากในช่วงที่มีตุ่มดอก***
-
เพลี้ยไฟ
ลักษณะอาการ: ส่วนยอดใบจะหงิกงอ ส่งผลให้ดอกไม้ไม่พัฒนาและลำต้นแคระแกร็น หากเป็นช่วงที่พืชขาดน้ำแล้วไม่ทำการป้องกันจะทำให้พืชตายได้ นอกจากนั้นเพลี้ยไปยังเป็นพาหะนำโรคไวรัส มาสู่ต้นได้อีกด้วย
การป้องกัน: ควรตัดแต่งกิ่งให้ต้นโปร่ง หากพบการระบาดควรตัดแต่งส่วนที่พบการระบาด ใส่ถุงให้มิดชิด แล้วพ่นสารเคมี
สารเคมีที่ใช้: ฟูโนบูคาร์บ มาลาไทออน เฟนิโตรไทออน
**ใช้สารเคมีพ่นกำจัดเพลี้ยไฟทุกๆ 5-7 วัน หากพบระบาดมากทุกๆ 2-3 วัน โดยมากในช่วงหลังฝนตก ที่มีความชิ้นสูง และอากาศร้อนอบอ้าว ควรฉีดพ่นในช่วงสาย และช่วงบ่าย หลีกเลี่ยงการฉีดพ่นยาในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด เพราะตัวยาบางชนิดจะทำให้ใบไหม้ได้ ( มีระบาดในช่วงหลังเด็ดยอด )
-
เพลี้ยอ่อน
ลักษณะอาการ: เพลี้ยอ่อน ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบ ยอดอ่อนและดอก ทำให้หงิกงอเป็นคลื่น หากมีการระบาดมากๆ จะทำให้ไม้ดอกเหี่ยวและอ่อนแอ ไม่ออกดอก บริเวณที่มีเพลี้ยอ่อนระบาดมักจะพบเห็นมดอาศัยกินน้ำหวานที่เพลี้ยอ่อนถ่ายออกมา จะทำให้เกิดราดำ
การป้องกัน: พยายามสำรวจแปลงปลูกพืช หากพบมดให้กำจัด
สารเคมีที่ใช้: oxydemeton-methyl omethoate carbosulfan
**สำหรับในฤดูแล้ง หากพบมีการระบาดมากให้ใช้สารสกัดจากสะเดา หรือยาสูบฉีดพ่น หากมีการระบาดรุนแรงใช้สารเคมีฉีดพ่น ตามอัตราที่ฉลากระบุ หลังจากนั้น 7 วัน ให้สำรวจแปลงดูหากยังมีการระบาดอยู่ให้ฉีดพ่นซ้ำอีกครั้ง
Short URL :